บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่5
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560
เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
สาระและมาตราฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
(มาตรฐาน ค.ป. 1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเปรียบเทียบจำนวณ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
สาระที่2 การวัด
(มาตรฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
-ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
- การวัด
อาจารย์ให้นำป้ายชื่อของตัวเองไปติดบนกระดานโดยใช้เกณฑ์คนที่มาเรียน เป็นการเช็คได้ว่ามีคนมาเรียนกี่คนและขาดเรียนกี่คน เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้ดี
ความรู้เชิงคณิตศาสตร์มี4ประเภท
1.ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่ง ต่างๆ ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด
2.ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้รับจาการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน หนึ่งเดือนมี 28 29 30 หรือ 31 วัน หนึ่งปีมี 12 เดือน
3. ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ โดยความรู้นี้เกิดจากการสังเกต สำรวจ และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น เช่น การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่ง
4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Knowledge) เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ การเกิดความรู้นี้ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจน
สาระและมาตราฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
(มาตรฐาน ค.ป. 1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเปรียบเทียบจำนวณ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
สาระที่2 การวัด
(มาตรฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
-ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
- การวัด
เพลงเด็กปฐมวัย
เพลงซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
การประยุกต์ใช้
สามารถนำเทคนิคการนำป้ายชื่อไปติดบนกระดานเพื่อเช็คการมาเรียนของเด็กนักเรียนได้
นำเอาความรู้เชิงคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
ประเมิน
อาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคดีๆมาสอนมากมาย ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าเดิม
ตนเอง: วันนี้มีความรู้สึกง่วง เลยทำให้เรียนไม่เต็มที่
สิ่งแวดล้อม: บรรยากาศสนุกสนาน เเต็มไปด้วยเสียวหัวเราะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น