ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมนตรีเซอรี่
ปริญญานิพนธ์ของกมลรัตน์ กมลสุทธิ
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2555
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยมีจุดประสงค์ดังนี้
1.เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมมาไวที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กประถมมาไวอายุระหว่างสี่ถึงห้าปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล2ภาคเรียนที่1
ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารีกรุงเทพมหานคร จำนวน12คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมลูในภาคเรียนที่ 1 ปีการศกึษา 2554 เป็น เวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง
โดยมีแผนการดำเนินการ ดังนี้
1. นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาทดสอบก่อน (Pretest) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวการมอนเตสซอรี่กับเด็กปฐมวัยรายบุคคลจำนวน 12 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวจัยจำนวน 15 ข้อ ข้อละ 3-4 นาทีโดยประมาณคนละ 45-50 นาที
2. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยดำเนินการจัดประสบการณ์คณิตศาสตรต์ามแนวมอนเตสซอรี่ให้กับเด็กปฐมวัยรายบุคคลที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน จำนวน 15 กิจกรรม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. - 11.00 น. วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่10 สิงหาคม พ.ศ. 2554
3. เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองแล้วผู้วิจัยดำเนินการประเมินผลหลังการทดลอง (Posttest) ด้วย
แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ดำเนินการก่อน
ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นรายบุคคล จำนวน 15 ข้อ
4. ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อน และหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบของ The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test
สรปุผลการวิจัย
1. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนว
มอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
2. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนว
มอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบ ด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น