พุยพุย

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่16



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่16
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                       วันนี้เป็นการทำปฏิทินให้เสร็จ เนื่องจากว่ามีบ้างจุดที่ต้องแก้เพื่อให้ปฏิทินเสร็จอย่าสมบูรณ์และมามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 
                       วันนี้นำเอาสื่อที่อาจารย์มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไปประดิษฐ์สื่อที่ใช้สอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มข้าพเจ้าได้ทำสื่อที่เรียกว่า Math Box เป็นชุดคณิตศาสตร์ที่สามารถเล่นเป็ชุดได้ในตัวกล่อง โดยในกล่องจะมีแท่งสีอยู่ 4 ชุด มีแผ่นตัวเลข1ชุด และเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร และเครื่องหมายเท่ากับอยู่อีก1 เซต
                      วิธีการเล่นก็คือ นำเอาแผ่นตัวเลขมาตั้งโจทย์ ครูอาจจะเป็นคนตั้งโจทย์ให้  โดยให้เด็กนำเอาแท่งสีมาแทนค่าตัวเลข และนำจำนวนจากนั้นก็แทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก 
 Math Box  สามารถเล่นได้ตั้งแต่ทั้งแบบกลุ่ม แบบคู่ หรือคนเดียวก็เล่นได้ ครูอาจนำมาใช้สอนเด็ก หรือพ่อแม่นำมาสอนลูกๆเรื่องของคณิตศาสตร์ก็ยังได้ ในเรื่องของคณิตศาสตร์เด็กจะได้เรื่องของการบวก การลบ การคูณ การหาร การนับจำนวนและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก








การนำไปประยุกต์ใช้
         สื่อที่เราทำขึ้น ปฎิทิน เราสามารถนำไปใช้สอนเด็กเรื่อง วันที่ สี ตัวเลข
          Math Box   ครูอาจนำมาใช้สอนเด็ก หรือพ่อแม่นำมาสอนลูกๆเรื่องของคณิตศาสตร์ก็ยังได้ ในเรื่องของคณิตศาสตร์เด็กจะได้เรื่องของการบวก การลบ การคูณ การหาร การนับจำนวนและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

ประเมิน
                             อาจารย์ : อาจารย์ได้มีการแนะนำสื่อของแต่ละกลุ่มว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง และสามารถต่อยอดได้อีกอย่างไรบ้าง  
                            ตนเอง : มีการเตรียมพร้อมในสื่อที่กลุ่มตนเองทำขึ้นมาเพื่อนำมาเสนอเพื่อนๆและอาจารย์ได้ดูกัน
                         สิ่งแวดล้อม : วันนี้หลายกลุ่มทำสื่อได้แปลกใหม่ และบางกลุ่มอาจจะต้องปรับปรุงนิดหน่อย ในภาพรวมแล้วแต่ละกลุ่มทำออกมาได้ดีมากๆ






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่15
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 26 เมษายน 2560 



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                  สืบเนื่องจากแผนผังความคิดเรื่องหน่วยกระเป๋าได้ทำไว้  การเรียนการสอนในครั้งนี้เป็นการสอนหน่วยที่แต่ละกลุ่มได้วางแผนไว้และได้เขียนแผนการสอนไว้ โดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาทำการสอนในหน่วยที่ได้คิดและวางแผนกันเอาไว้ แต่ละกลุ่มจะต้องส่งตัวแทนมาสอนในแผนการสอนที่เขียนไว้กลุ่มละ1วัน  กลุ่มข้าพเจ้าสอนเรื่องกระเป๋า ได้สอนวันจันทร์ ซึ่งเป็นเรื่องของชนิดกระเป๋า 
กลุ่ม1  เรื่อง กระเป๋า สอนตามแผนของวันจันทร์
กลุ่ม2 เรื่อง บ้าน สอนตามแผนของวันอังคาร
กลุ่ม3 เรื่อง กระต่าย สอนตามแผนของวันพุธ
กลุ่ม4 เรื่อง เสื้อ  สอนตามแผนของวันพฤหัสบดี
กลุ่มถ เรื่อง ยานพหนะ สอนตามแผนของวันศุกร์
               อาจารย์มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไปประดิษฐ์สื่อที่ใช้สอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มละ1ชิ้น






              

การนำไปประยุกต์ใช้
            การสอนครั้งนี้ทำให้เราเห็นถึงสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น และการที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในแต่ละขั้นตอนเราสามารถนำเอาไปปรับใช้ในอนาคตในการสอนได้

ประเมิน
                             อาจารย์ : อาจารย์ได้มีการแนะนำในแต่ละขั้นตอนและกิจกรรมที่ใช้ในการสอน บางกิจกรรมสามารถต่อยอดได้ทำให้เด็กได้เรื่องของคณิตศาสตร์เพิ่มมากกว่าเดิม          
                            ตนเอง : วันนี้ตนเองได้มีการเตรียมอุปกรณ์ ทั้งสื่อในการสอน ชาร์ตคำคล้องจอง และช่วยอำนวยความสะดวกให้เพื่อนที่เป็นตัวแทนสอน
                         สิ่งแวดล้อม : วันนี้หลายกลุ่มค่อยข้างพร้อมมาก มากการนำสื่อที่จะใช้สอนมา มีการซ้อมและวางแผนการสอนในแต่ละครั้งเป็นอย่างดี เห็นความพร้อมเพียง ความร่วมมือของแต่ละกลุ่ม ทุกกลุ่มที่สอนทำได้ดีมากๆในระดับนึง





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14


บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่14
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 19 เมษายน 2560 



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
             อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์สื่อว่าแต่ละชิ้น แต่ละชนิดเป็นอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง และสามารถนำไปต่อยอดอย่่างไรได้บ้าง และมีการนำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยมีคำถามดังนี้
1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า
              จากนั้นอาจารย์ได้มีการพิจารณาจากคำตอบที่เพื่อนๆได้ตอบกันมา   อาจารย์ได้แนะแนวทางสำหรับการจัดดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งบางกิจกรรมอาจาต้องปรับปรุง บางกิจกรรมอาจส่งเสริมต่อยอดมากยิ่งขึ้น





การประยุกต์ใช้
               เราสามารถนำเอาคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า

ประเมิน
     อาจารย์: อาจารย์ได้แนะนำแนวการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าแต่ละกิจกรรมปรับตรงไหนบ้าง
    ตนเอง:  ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำแนวการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    สิ่งแวดล้อม:เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังแนวทางที่อาจารย์แนะนำแนวการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13


บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่13
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 5 เมษายน  2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
               งอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์สื่อคณิตศาสตร์  ว่าแต่ละชิ้น แต่ละชนิดเป็นอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง และสามารถนำไปต่อยอดอย่่างไรได้บ้าง
ตัวอย่างเช่น
              ◼เกมจับคู่ เช่น จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน จับคู่ภาพกับเงา จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก จับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
              ◼เกมภาพตัดต่อ (Jig-saw puzzle) เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้คณิตศาสตร์
              ◼เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์


ตัวอย่างเกมการศึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์









การนำไปประยุกต์ใช้
                    เกมการศึกษาแค่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป หากเราต้องนำเกมการศึกษามาให้เด็กเล่นต้องคำนึกถึง ความยากง่ายที่จะเหมาะกับพัฒนาการเด็กด้วย และความถูกต้องของเกมชนิดนั้นๆ เพระาหากเกมมีความผิดพลาดจะทำให้เด็กได้รับความรู้ผิดไป


ประเมิน
                      อาจารย์: อาจารย์ได้วะเคราะห์เกมการศึกษาแต่ละชิ้นให้นักศึกษาดู และมีการอธิบายว่าเราสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างไรบ้าง และสอนในเรื่องคณิตศาสตร์อย่างไรได้บ้าง
                      ตนเอง: สำหรับตนเองวันนี้รู้สึกว่า เกมการศึกษาบางชนิดสอนคณิตศาสตร์เด็กได้หลายเรื่องในชิ้นเดียว และบางชิ้นมีความแปลกใหม่
                        สิ่งแวดล้อม: เพือนหลายคนต่างสนใจในเกมการศึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเนื่องจากหลายชิ้นมีความแปลกใหม่ ไม่เคยเห็นมมาก่อน




วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่12
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
              หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี  เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของเด็ก  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี    มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่าง
สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วน   ดังนี้
             1. ประสบการณ์สำคัญ
            ประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาช่วยให้เด็กเกิด ทักษะ ที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้  โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ บุคคลต่างๆ ที่อยู่รอบตัวรวม
             2. สาระที่ควรเรียนรู้
         สาระที่ควรเรียนรู้  เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ให้เด็กเกิดการเรียนรู้  ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา  ครูสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ และความสนใจของเด็ก
                ➤เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  เด็กควรรู้จักชื่อ  นามสกุล  รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะต่าง
                ➤ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ
               ➤ ธรรมชาติรอบตัว  เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน  ฯลฯ
               ➤ สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก  เด็กควรจะได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ
          โดยสาระการเรียนรู้สามารถจัดประสบการณ์โดยให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลัก
- เคลื่อนไหวและจังหวะ
- ศิลปะ  สร้างสรรค์  แสดงความรู้สึก
- เสรี     เล่นบทบาทสมมติ
- เสริมประสบการณ์  สติปัญญา
- กลางแจ้ง   ร่างกาย
- เกมการศึกษา  สติปัญญา


การประยุกต์ใช้
          เราสามารถนำเอาสาระการเรียนรู้มาจัดประสบการณ์โดยให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลักได้
ประเมิน
        อาจารย์: อาจารย์สอนได้ละเอียด เปิดดอกาสให้นักศึกษาที่มีข้อสงสัยได้ซักถาม
         ตนเอง: วันนี้รู้สึกสดชื่น  เลยทำให้เรียนได้เต็มที่
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี และซักถามบ้างเป็นบางคน
       










สรุปวิจัย



ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมนตรีเซอรี่
ปริญญานิพนธ์ของกมลรัตน์  กมลสุทธิ
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2555

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยมีจุดประสงค์ดังนี้
1.เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมมาไวที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กประถมมาไวอายุระหว่างสี่ถึงห้าปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล2ภาคเรียนที่1
ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารีกรุงเทพมหานคร จำนวน12คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการวิจัย
                    การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมลูในภาคเรียนที่ 1 ปีการศกึษา 2554 เป็น เวลา 5 สัปดาห์   สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง
 โดยมีแผนการดำเนินการ ดังนี้
        1. นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาทดสอบก่อน (Pretest) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวการมอนเตสซอรี่กับเด็กปฐมวัยรายบุคคลจำนวน 12 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวจัยจำนวน 15 ข้อ ข้อละ 3-4 นาทีโดยประมาณคนละ 45-50 นาที
         2. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยดำเนินการจัดประสบการณ์คณิตศาสตรต์ามแนวมอนเตสซอรี่ให้กับเด็กปฐมวัยรายบุคคลที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน จำนวน 15 กิจกรรม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง     ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. - 11.00 น.  วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 
         3. เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองแล้วผู้วิจัยดำเนินการประเมินผลหลังการทดลอง (Posttest) ด้วย 
แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ดำเนินการก่อน
 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นรายบุคคล  จำนวน 15 ข้อ
         4. ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 ก่อน และหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบของ The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test  

สรปุผลการวิจัย
1. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนว
มอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
 2. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนว
มอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบ ด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ   















วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ตัวอย่างการสอน




                                                                    รายการครูมืออาชีพ
                                                         ชุดรายการ - คณิตในชีวิตประจำวัน 
                                                 ตอน Making Maths Real : สอนคณิตให้มีชีวิตชีวา ตอน 1 


                     กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สอนอย่างไรให้สนุกและมีชีวิตชีวา เริ่มที่ประเทศอังกฤษ ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์แก่เด็ก ๆ จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการสอนคณิตศาสตร์ของพวกเขา ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ชั้นปฐมวัยและประถมศึกษา  โรงเรียนประถมศึกษา ที่วินเชสเตอร์   โรงเรียนของที่นี่จะใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นว่าเด็กชอบเรียนรู้อะไรแล้วนำมาวางแผนเพื่อที่จะสอนในขั้นตอนต่อไป จะมีการนำสิ่งที่เด็กชอบมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์  ก่อนที่จะเริ่มบทเรียนคุณครูมีการพาเด็กอบอุ่นร่างกายและร้องเพลงเป็นการทำให้เด็กตื่นตัว เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่บทเรียน การเรียนการสอนของที่นี่คืออาศัยการทำกิริยาท่าทางของเด็กประกอบไปกับตัวเลข ที่นี่จะแสดงท่าทางแทนตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง โดยคุณครูจะคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์ขึ้นมาโดย  การใช้ร่างกายแทนสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นการบวก การลบ หรือเครื่องหมายเท่ากับ โดยใช้ร่างกายเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งเหล่านั้น  ในการเรียนคณิตศาสตร์นั้นจะช่วยให้เด็กตื่นตัวมากขึ้นเมื่อเขาได้ใช้ร่างกายของพวกเขาเองทำเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ  ทำให้พวกเขานั้นไม่ได้จำจากการเรียน เขียน อ่าน  แต่จะจำจากการใช้สัญลักษณ์ต่างๆที่พวกเขาเคยได้ทำ เด็กๆจะจำได้ว่าอย่างไหนใช้แทนตัวเลข  อย่างไหนใช้แทนเครื่องหมายต่างๆ


 ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=cz_BgmCg2Ss

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11




บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่11
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 

******เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดภาระกิจจึงมีงานมอบหมายให้นักศึกษาทำ


                อาจารย์ได้ให้ทำสื่อปฎิทินโดยทำเป็นกลุ่มกลุ่มละ1ชิ้นงาน  แต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผน ช่วยกันทำเป็นอย่างดี























วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10


บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่10
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 15 มีนาคม 2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                  อาจารย์แจกกระดาษให้แต่ละคนวาดรูทรงเลขาคณิตที่ตนเองชอบ จากนั้นมาหยิบไม้ และดินน้ำมันไปปนะกอบเป็นรูปที่ตนเองวาดไว้ ต่อจากนั้นก็นำรูปทรงของตนเองไปประกอบกับเพื่อนอีก1คน แล้วนำมาวางหน้าชั้นเรียนเพื่อทำการวิเคราะห์ นำมาวางเรียงกัน มีการนับ การแทนค่าด้วยตัวเลข แยกหมวดหมู่ดวยเกณฑ์สี่เหลี่ยม ทำการวิเคราะห์ว่าสามเหลี่ยม สีเหลี่ยม มีด้านแต่ละด้านเป็นอย่างไร มีตรงไหนที่เหมือนหรือต่างกัน สำรวจความชอบของเด็กๆว่าชอบแบบใด
                  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำmy map ของแต่ละกลุ่มที่ทำมาว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรตรงไหนบ้าง และให้แนวทางในแต่ละเรื่องที่ทำมาว่าควรต่อยอดอย่างไรได้บ้างควรเพิ่มเติมตรงไหนอีกบ้าง และอาจารย์ได้อธิบายแผนการจัดประสบการณ์ว่าควรเขียนอย่าไร มีกาารนำตัวอย่างแผนมาให้ดู










การประยุกต์ใช้
                  กิจกรรมที่นำไม้และดิน้ำมันมาต่อเป็นรูปเรขาคณิตเราสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ด้วยอาจเป็นการต่อยอดโดยการให้เด็ตัดกระดาษมาติดแต่ละด้านเพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ว่ามีด้านกี่ด้านมีพื้นที่ขนาดไหน
              
ประเมิน
     อาจารย์: อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการทำ my map ว่าต้องปรับปรุงอย่างไร อันไหนบ้าง 
    ตนเอง: ชอบในกิจกรรมที่นำไม้และดิน้ำมันมาต่อเป็นรูปเรขาคณิต
    สิ่งแวดล้อม:หลายๆคนตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี




วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9





บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่9
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 8 มีนาคม 2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                     อาจารย์ได้นำลูกอมในขวดโหลมาเป็นสื่อการสอน โดยให้นักศึกษาคาดคะเนว่ามีลูกอมในขวดโหลเท่าไหร่ และมีการเอาลูกอมออกมานับเพื่อให้ทราบถึงจำนวนลูกอมที่แท้จริง จากนั้นอาจารย์ก็หยิบลูกอมใส่เพิ่มลงไป และมีการเริ่มนับใหม่อีกครั้งว่ามีลูกอมเท่าไหร่ ทำให้ได้เรียนรู้ จำนวนนับ การแทนค่าด้วยตัวเลข ระบบเลขฐานสิบ ความสัมพันธ์ของขนาดและปริมาณ การคาดคะเน มิติสัมพันธ์ จากนั้นอาจารย์ได้มีการแยกลูกอมออกจากกันโดยใช้เกณฑ์เดียว และเปรียบเทียบให้เห็นว่าลูกอมชนิดใดมากกว่ากัน ซึ่งถ้าดูจากตาเปล่า เด็กจะตอบตามที่ตาเห็น หรือขั้นอนุรักษ์
                     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 จำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มละ 3 จำนวน 2 กลุ่ม จากนั้นอาจารย์ก็แจกอุปกรณ์เพื่อให้นำไปทำ my map โดยให้เลือกหัวข้อเรื่องที่เด็กปฐมวัยต้องเรียน ได้แก่ ตัวฉัน ธรรมชาติรอบตัว สิ่งแวดล้อม บุคคลและสถานที่ โดยแตกหัวข้อออกไปว่าสิ่งที่เราเลือกสอน มีลักษณะ ชนิดใดบ้าง ให้ประโยชน์ โทษ อย่างไร โดยสัปดาห์นี้ครูจะตรวจความถูกต้องของเนื้อหาและให้คำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงแล้วมาสอนจริงในสัปดาห์หน้า โดยให้ในกลุ่มผลัดเปลี่ยนกันออกมาสอน





การประยุกต์ใช้
                  สื่อลูกอมในขวดโหล เราสามารถนำเอามาสอนเด็กปฐมวัยได้ อาจดัดแปลงจากลูกออมเป็นอย่างอื่นได้ อาจจะเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน เปลือกหอย
                 ในการทำ my map เราได้ทักษะในการแตกหัวข้อย่อย เราสามารถนำไปใช้กับรายวิชาอื่นๆได้อีกด้วย

ประเมิน
     อาจารย์: อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการทำ my map ว่าต้องปรับปรุงอย่าไร อันไหนบ้าง และอาจารย์ได้มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้
    ตนเอง:  วันนี้ชอบที่ได้ทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ ทำให้ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
    สิ่งแวดล้อม: หลายๆกลุ่มก็ตั้งใจทำงานกลุ่มของกลุ่มตนเองเป็นอย่างดี มีการมาขอคำแนะนำจากอาจารย์บ้าง
























วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่8
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560


        *****งดการเรียนการสอนเนื่องจากว่าอาจารย์ได้ไปราชการ แต่มีการมอบหมายชิ้นงานไว้


                                                   สื่อคณิตศาสตร์ นับส้มตามจำนวน




วัสดุที่ใช้
          1.กระดาษสีส้ม,เขียว,แดง,เหลือง
          2.ฟิวเจอร์บอร์ด
          3.กรรไกร
          4.กาว
          5.หนามเตย

วิธิทำ
        1.วาดรูปส้มลงบนกระดาษสี ตกแต่งผลส้มด้วยใบสีเขียวตามชอบ
        2.นำผลส้มมาติดหนามเตยที่เราเครียมไว้
        3. เขียนเลขจำนวน 1-10 ลงบนฟิวเจอร์บอร์ด

การนำเกมส์ไปใช้ 
        ให้เด็กนำผลส้มมาติดตามจำนวนเลขที่เขียนไว้  โดยติดทีละจำนวน เมื่อเด็กติดถูกจึงจะเปลี่ยนไปติดจำนวนอื่นต่อได้ โดยเริ่มจากจำนวนเลขที่น้อยไปหามาก

ประโยชน์
      ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องตัวเลข การนับจำนวน การเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย  ช่วยพัฒนาเด็กทางด้านคณิตศาสตร์ เด็กๆจะได้เรียนรู้และมีความสนุกสนานไปในตัว ทำให้คณิตศาสตร์ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป







วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7




บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่ึ7
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
             วันนี้อาจารย์ได้ให้ไปดูนิทรรศการของพี่ปี่ 5 ที่นำมาแสดง
 Project Approach เรื่อง ในหลวง  โดยเด็กๆสนใจเรื่องข้าว เด็กโหวดกันว่าอยากทำไข่พระอาทิตย์ เป็นเมนูที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่9 ทรงประทานให้พระโอรสและพระธิดา ในการทำไข่พระอาทิตย์ได้มีการนำหลัก STAM เข้ามาใช้ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้
S= Science  (วิทยาศาสตร์)  เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนสถานะของไข่ จากของเหลวเป็นของแข็ง สังเกต    รูป รส กลิ่น
T=Technology (เทคโนโลยี)  เด็กได้มีการใช้กระทะไฟฟ้า
E= Engineering   (วิศวกรรมศาสตร์)  เด้กได้มีการออกแบบไข่พระอาทิตย์ของตัวเองว่าจะใส่อะไรบ้าง
M= Mathematics  (คณิตศาสตร์) มีการใช้เครื่องปรุงที่เป็นสัดส่วน ใช้ปริมาณให้พอดีกับไข่


สื่อนวัตกรรมการสอน
              โดยสื่อแต่ละชิ้นจะมีความแตกต่างกันออกไป เน้นให้เด็กได้คิดควบคู่ไปกับการเล่น เช่นสื่อชุดสนุกไปกับตัวเลข โดยเด็กสามารถตั้งโจทย์เองได้ แต่ต้องเป็นจำนวนที่ไม่เกินสิบ เด็กตั้งโจทย์ได้ คิดคำนวนเองได้ หรือครูจะตั้งโจทย์ให้เด็กหาคำตอบเองก็ได้








สื่อนวัตกรรมการสอน

              โดยสื่อแต่ละชิ้นจะมีความแตกต่างกันออกไป เน้นให้เด็กได้คิดควบคู่ไปกับการเล่น เช่นสื่อชุดสนุกไปกับตัวเลข โดยเด็กสามารถตั้งโจทย์เองได้ แต่ต้องเป็นจำนวนที่ไม่เกินสิบ เด็กตั้งโจทย์ได้ คิดคำนวนเองได้ หรือครูจะตั้งโจทย์ให้เด็กหาคำตอบเองก็ได้






แผนการจัดการเรียนรู้
                โดยการเขียนแผนที่พี่ปี5นำมาจัดนิทรรศการนี้เป็นเรื่องของบัว มีการนำบัวมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรม5ด้านของเด็กปฐมวัย โดยกิจกรรมกลางแจ้งนั้น เป็นการละเล่นของไทย เนื่องจากเป็นยโยบายของทางสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนมีการเขียนแผนที่แตกต่างกันไปจาก กทม. สพฐ. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่ในแผนก็ไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่นักมีส่วนที่เหมือน ส่วนที่ต่าง ถ้าดูจากรูปเล่มนั้นจะเห็นได้ว่า โรงเรียนเอกชนจะเล่มบางกว่าโรงเรียนสังกัด กทม.และ สพฐ. แต่อย่างไรแผนจัดการเรียนรู้นั้นจะต้องเน้นพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็กปฐมวัย











การประยุกต์ใช้ 

            เราสามารถนำความรูที่ได้จากพี่ๆปี5ไปใช้สอนเด็กๆในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น  Project Approach สื่อนวัตกรรมการสอน แผนการจัดการเรียนรู้


ประเมิน
     อาจารย์: อาจารย์ได้เปิดโอกาสที่ดีในการให้ไปดูนิทรรศการของพี่ๆเพื่อเป็นให้ได้ความรู่เพิ่มขึ้น
    ตนเอง: วันนี้รู้สึกชอบแผนการเรียนรู้มากที่สุด เนื่องจากว่าพี่ๆได้อธิบายชัดเจนและแนะนำแนวทางในการเขียนแผนเพิ่มเติม
 สิ่งแวดล้อม:  นิทรรศการของพี่ๆ มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ มีสีสันสวยงามน่าดึงดูดให้                                






วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6




บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่6
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                   อาจารย์ใช้ตารางสำรวจความชอบกินส้มตำของนักศึกษาชั้นปีที่2 สาขาการศึกษาปฐมวัย สรุปได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่2 สาขาการศึกษาปฐมวัย 8 คนชอบกินส้มตำไทย ชอบกินส้มตำปูปลาร้า 10 คน แสดงว่านักศึกษาชั้นปีที่2 สาขาการศึกษาปฐมวัยชอบกินส้มตำปูปลาร้า มากกว่าส้มตำไทย มากกว่าอยู่2คน ได้เรื่องของการเปรียบเทียบ การนับจำนวน
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
           มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ เช่น  ข้างบน ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก
           มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
          รูปเรขาคณิต3มิติและรูปเราขาคณิต2มิติ
-ทรงกลม กรวย ทรงกระบอก
-รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลงรูปเราขาคณิตสองมิติ
-งานสร้างสรรค์ศิลประ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
          มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด  หรือสี  ที่สัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่ง
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
         มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
 สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ


การประยุกต์ใช้
          นำเอาสาระมาตรฐานที่เราได้เรียนไปใช้ในการจัดแนวการสอนเด็กปฐมวัยได้ เด็กอายุเท่านี้ เราควรสอนอะไร สอนอย่างไร เด็กสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง 

ประเมิน
        อาจารย์: อาจารย์สอนได้สนุกดี ไม่เน้นเนื้อหาจนเครียดเกินไป
         ตนเอง: วันนี้รู้สึกสดชื่น อาจมีง่วงบ้างนิดหน่อย เลยทำให้เรียนได้เต็มที่
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
       




วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่5
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                        อาจารย์ให้นำป้ายชื่อของตัวเองไปติดบนกระดานโดยใช้เกณฑ์คนที่มาเรียน เป็นการเช็คได้ว่ามีคนมาเรียนกี่คนและขาดเรียนกี่คน เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้ดี
             ความรู้เชิงคณิตศาสตร์มี4ประเภท
                                   1.ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่ง        ต่างๆ  ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส  เช่น  สี  รูปร่างลักษณะ  ขนาด

                    2.ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge เป็นความรู้ที่ได้รับจาการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้  เช่น  หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน  หนึ่งเดือนมี  28  29  30  หรือ  31  วัน  หนึ่งปีมี  12  เดือน
                  3. ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์  (Logical-mathematic Knowledge เป็นความรู้ที่เกิดจากการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ  โดยความรู้นี้เกิดจากการสังเกต  สำรวจ  และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ  เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น  เช่น  การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่ง
                   4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์  (Symbolic Knowledge เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์  การเกิดความรู้นี้ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจน
     
 สาระและมาตราฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
                   สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
(มาตรฐาน ค.ป. 1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเปรียบเทียบจำนวณ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
              สาระที่2 การวัด
    (มาตรฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      -ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
     - การวัด

   
เพลงเด็กปฐมวัย

เพลงซ้าย-ขวา 
ยืนให้ตัวตรง        ก้มหัวลงตบมือแผละ
       แขนซ้ายอยู่ไหน   หันตัวไปทางนั้นแหละ



 การประยุกต์ใช้
           สามารถนำเทคนิคการนำป้ายชื่อไปติดบนกระดานเพื่อเช็คการมาเรียนของเด็กนักเรียนได้

           นำเอาความรู้เชิงคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

ประเมิน
        อาจารย์:   อาจารย์มีเทคนิคดีๆมาสอนมากมาย ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าเดิม 
        ตนเอง: วันนี้มีความรู้สึกง่วง เลยทำให้เรียนไม่เต็มที่
     สิ่งแวดล้อม:  บรรยากาศสนุกสนาน เเต็มไปด้วยเสียวหัวเราะ




วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่4
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 25 มกราคม 2560
เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                          นำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัย ออกแบบชื่อเล่นของตนเอง แล้วนำมาติดบอร์ดโดยใช้เกณฑ์ คนที่ตื่นก่อน 6.00 น. เป็นตัวอย่างในการแบ่งหมวดหมู่โดยการใช้เกณฑ์เดียว
ความหมายของคณิตศาสตร์
                          วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
                          เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
                         เข้าใจสรรพสิ่งรอบตัวเช่น เกี่ยวกับปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ เวลา
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                         กระบวนทางความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ เช่น นับ ตัวเลข จับคู่ เปรียบเทียบ จัดลำดับ
ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                        เป็นพื้นฐานให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวณแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์



การนำไปประยุกต์ใช้
                     นำเทคนิคการใช้เกณฑ์เดียวมาใช้ในการแบ่งประเภท หมวดหมู่ ของเด็กในอนาคตได้ และใช้ในเรื่องของคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย



ประเมิน
                      อาจารย์: อาจารย์สอนได้สนุก มีเกมมาให้เล่น มีเทคนิคดีๆมาสอนมากมาย ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าเดิม
                      ตนเอง: รู้สนุกกับการเรียนในวันนี้มาก เนื้อหาไม่หนักจนเกินไป เน้นการลงมือปฎิบัติเพื่อให้รู้ถึงสถานการณ์จริง
                        สิ่งแวดล้อม: บรรยากาศสนุกสนาน เต็มไปด้วยเสียวหัวเราะของพี่ๆ









วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่3



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่3
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 19 มกราคม 2560
เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม

                 เจโรม บรูเนอร์
  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ 
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
             เลฟ ไวก็อตสกี้
        ไวก็อตสกี้เขาพูดถึง "นั่งร้าน"  คือการสนับสนุนของผู้ใหญ่ที่ทำให้เด็กสามารถทำงานสำเร็จได้ ในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เด็กได้รับการสนับสนุนและเพิ่มพูนโดยผู้อื่นผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม    เมื่อเด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อนเดียวกัน เมื่อกระบวนการเหล่านี้ เกิดจากภายใน ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จจากพัฒนาการของเด็ก”                                                 


คำคล้องจอง
 หน้า-กลาง-หลัง
เรื่อใบ  สีแดง  แล่นแซง  ขึ้นหน้า
เรือใบ  สีฟ้า  ตามมา  อยู่กลาง 
เรือใบ  ลำไหน  แล่นอยู่  ข้างหลัง
สีขาว  ช้าจัง  อยู่หลังสุดเลย

เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงขวด5ใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง 
(ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง


เพลงบวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ            ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ



การนำไปประยุกต์ใช้

                นำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ

ประเมิน
                             อาจารย์ : อาจารย์มีการสอนเนื้อที่ ละเอียด กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการสนใจเนื้อหา โดยใช้คำถาม ทำให้เกิดการคิดต่อยอด                  
                            ตนเอง : วันนี้ตนเองไม่ค่อยมีความพร้อมในการเรียนเท่าที่ควร
                         สิ่งแวดล้อม : วันนี้มีรุ่นพี่มาเรียนเพิ่มอีก2คน บรรยากาศและอุปกรณ์เอื้อต่อการเรียน