พุยพุย

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่4
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 25 มกราคม 2560
เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                          นำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัย ออกแบบชื่อเล่นของตนเอง แล้วนำมาติดบอร์ดโดยใช้เกณฑ์ คนที่ตื่นก่อน 6.00 น. เป็นตัวอย่างในการแบ่งหมวดหมู่โดยการใช้เกณฑ์เดียว
ความหมายของคณิตศาสตร์
                          วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
                          เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
                         เข้าใจสรรพสิ่งรอบตัวเช่น เกี่ยวกับปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ เวลา
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                         กระบวนทางความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ เช่น นับ ตัวเลข จับคู่ เปรียบเทียบ จัดลำดับ
ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                        เป็นพื้นฐานให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวณแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์



การนำไปประยุกต์ใช้
                     นำเทคนิคการใช้เกณฑ์เดียวมาใช้ในการแบ่งประเภท หมวดหมู่ ของเด็กในอนาคตได้ และใช้ในเรื่องของคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย



ประเมิน
                      อาจารย์: อาจารย์สอนได้สนุก มีเกมมาให้เล่น มีเทคนิคดีๆมาสอนมากมาย ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าเดิม
                      ตนเอง: รู้สนุกกับการเรียนในวันนี้มาก เนื้อหาไม่หนักจนเกินไป เน้นการลงมือปฎิบัติเพื่อให้รู้ถึงสถานการณ์จริง
                        สิ่งแวดล้อม: บรรยากาศสนุกสนาน เต็มไปด้วยเสียวหัวเราะของพี่ๆ









วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่3



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่3
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 19 มกราคม 2560
เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม

                 เจโรม บรูเนอร์
  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ 
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
             เลฟ ไวก็อตสกี้
        ไวก็อตสกี้เขาพูดถึง "นั่งร้าน"  คือการสนับสนุนของผู้ใหญ่ที่ทำให้เด็กสามารถทำงานสำเร็จได้ ในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เด็กได้รับการสนับสนุนและเพิ่มพูนโดยผู้อื่นผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม    เมื่อเด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อนเดียวกัน เมื่อกระบวนการเหล่านี้ เกิดจากภายใน ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จจากพัฒนาการของเด็ก”                                                 


คำคล้องจอง
 หน้า-กลาง-หลัง
เรื่อใบ  สีแดง  แล่นแซง  ขึ้นหน้า
เรือใบ  สีฟ้า  ตามมา  อยู่กลาง 
เรือใบ  ลำไหน  แล่นอยู่  ข้างหลัง
สีขาว  ช้าจัง  อยู่หลังสุดเลย

เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงขวด5ใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง 
(ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง


เพลงบวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ            ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ



การนำไปประยุกต์ใช้

                นำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ

ประเมิน
                             อาจารย์ : อาจารย์มีการสอนเนื้อที่ ละเอียด กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการสนใจเนื้อหา โดยใช้คำถาม ทำให้เกิดการคิดต่อยอด                  
                            ตนเอง : วันนี้ตนเองไม่ค่อยมีความพร้อมในการเรียนเท่าที่ควร
                         สิ่งแวดล้อม : วันนี้มีรุ่นพี่มาเรียนเพิ่มอีก2คน บรรยากาศและอุปกรณ์เอื้อต่อการเรียน





วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่2
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 12 มกราคม 2560
เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                          ร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์เป็นการเล่นตามธรรมชาติของเด็กคือ เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยประสาทสำผัสทั้ง5 อย่างอิสระ สามารถเลือกและตัดสินใจด้วยตนเองให้สอดคล้องกับพัฒนาการ สิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย  พัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ ธรรมชาติของเด็ก เด็กจะชอบเล่น ชอบเคลื่นไหว ชอบอ่านหนังสือ และ วิธีการเรียนรู้ ประโยชน์ขของพัฒนาการคือ เป็นการแสดงออกถึงการเปลี่ยแปลงของพฤติกรรมเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราทราบถึงความสามารถของเด็ก รู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสม 
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
                  
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้นตอน
                  ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง2ปี เด็กในวัยนี้ชอบเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
                 ขั้นก่อนปฎิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ 2-7 ขวบ
                 ขั้นปฎิบัติการคิดค้นด้านรูปธรรม(Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวันนี้สามารถสร้างเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมหมวดหมู่ได้


การนำไปประยุกต์ใช้
                    นำสิ่งที่เราเรียนไปใช้ในการจัดประสบการณ์ได้ เช่น การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5

       ประเมิน
                         อาจารย์ : อาจารย์มีการสอนเนื้อที่ชัดเจน ละเอียด มีการให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมกันในแต่ละประเด็นอยู่ตลอดเวลา 
                         ตนเอง : วันนี้ตนเองไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตอบคำถามเท่าไหร่ และรู้สึกตื่นเต้นเวลาอาจารย์ถามคำถาม เพราะเกรงว่าตอบไปแล้วจะตอบผิด
                        สิ่งแวดล้อม:อุปกรณ์มีความไม่พร้อมบ้างในช่วงแลก แต่พอช่างเทคนิกมาทำให้ก็เรียนได้ต่ออย่างสะดวก บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อนบางคนก็มาไม่ตรงเวลา แต่ส่วนใหม่จะมาตรงเวลา







วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



การเรียนรู้คณิตศาสตร์

จากนิตยสารรักลูก
โดยเกตน์สิรี


                  การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกไม่ใช่แค่ท่องจำตัวเลข 1 2 3 4 10 หรือ 1 + 1 = 2 เท่านั้น แต่คณิตศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้น  ทุกวันนี้หมดยุคท่องจำ หรือมุ่งการเรียนรู้เฉพาะเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่ะ เพราะว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเล่นกับลูก ไปเที่ยว หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น นับต้นไม้ ใบไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เรียนรู้เวลา และอื่นๆ มากมาย  ที่   ฝึกให้ลูกรู้จุกการนับจากชีวิตประจำวันขณะกิน เล่น เล่านิทาน เช่น การนับนิ้วมือ ช่วงแรกให้นับ 1-5 ก่อน แล้วเพิ่มเป็น 10 จากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงไปสู่ตัวเลขที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ลูกเห็นจำนวนที่แท้จริงมากขึ้น  ซึ่งนอกจากลูกจะได้เรียนรู้การนับแล้ว ยังได้เรียนรู้สรรพนามที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และผลไม้ต่างๆ ซึค่งจะทำให้เขาเรียนหรือการจัดหมวดหมู่
          เรียนรู้ขนาด  เช่น “กางเกงของลูกตัวเล็กกว่ากางเกงของแม่อีกค่ะ” หรือ “หนูว่าแตงโมกับส้ม ผลไม้ชนิดไหนใหญ่กว่ากัน” จากนั้นก็เอาของทั้ง 2 อย่างมาเปรียบเทียบให้ลูกดู
เรียนรู้ปริมาณและน้ำหนัก เช่น การเทน้ำใส่แก้ว การตักทราบใส่ถัง เก็บของใส่กล่อง 
          เรียนรู้รูปทรงโดยคุณแม่อาจตั้งคำถามให้ลูกคิด เช่น “มีแท่งบล็อกสี่เหลี่ยมกี่แท่งนะ” หรือ “ไหนหนูลองแยกแท่งบล็อกที่มีสีเหมือนกันซิค่ะ”
          เรียนรู้เวลา  สอนให้ลูกเรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายก่อน เช่น ก่อน-หลัง เร็ว-ช้า วันนี้-พรุ่งนี้ ด้วยการพูดคุยกับลูก 
      เรียน วัน เดือน ปี   โดยเริ่มต้นให้ลูกเรียนรู้จากกิจกรรมง่ายๆ  เช่น “เดือนมกราคมนี้ก็จะถึงวันเกินของลูกๆ จะมีอายุครบ 2 ขวบแล้วนะ” หรือ “วันที่ 13 เมษายนนี้ จะเป็นวันสงกรานต์ แม่จะพาลูกไปเล่นสาดน้ำสนุกๆ กันนะ”

ที่มา:http://archive.wunjun.com/children/7/86.html








วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

  











บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่1
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 5 มกราคม 2560
เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                   วิเคราะห์ชื่อวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยและประสบการณ์นั้นก็คือ คณิตศาสตร์ จากนั้นอาจารย์ให้เขียนจุดมุ่งหมายที่คาดหวังในวิชานี้ โดยจุดมุ่งหมายของฉันมี3ข้อ 1.มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากว่าเดิม 2.สามารถจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ 3.สามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้เรียนมาไปปฏิบัติใช้จริง อาจารย์ได้สอนทักษะการวิเคราะห์  พัฒนาการคือ ขั้นตอนที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ละขั้น โดยมีอายุเป็นตัวกำหนด และการที่ที่จะรู้ว่าเด็กนั้นมีพัฒนาการที่เปลี่ยนไป อาจดูได้จากแบบประเมิน แสดงความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบร่วมกัน



ประเมิน
                         อาจารย์ : อาจารย์ดูอารมณ์ดีและเข้าใจนักศึกษาเป็นอย่างดี มีการให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบร่วมกัน
                         ตนเอง : วันนี้รู้สึกสนุกสนานที่ได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เรียนกับอาจารย์ครั้งแรก อาจารย์ใจดีเลยทำให้กล้าที่จะตอบคำถาม
                        สิ่งแวดล้อม: สถานที่เรียนใหม่ บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อนทุกคนดูสนุกสนาน ห้องเรียนเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ