พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7




บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่ึ7
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
             วันนี้อาจารย์ได้ให้ไปดูนิทรรศการของพี่ปี่ 5 ที่นำมาแสดง
 Project Approach เรื่อง ในหลวง  โดยเด็กๆสนใจเรื่องข้าว เด็กโหวดกันว่าอยากทำไข่พระอาทิตย์ เป็นเมนูที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่9 ทรงประทานให้พระโอรสและพระธิดา ในการทำไข่พระอาทิตย์ได้มีการนำหลัก STAM เข้ามาใช้ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้
S= Science  (วิทยาศาสตร์)  เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนสถานะของไข่ จากของเหลวเป็นของแข็ง สังเกต    รูป รส กลิ่น
T=Technology (เทคโนโลยี)  เด็กได้มีการใช้กระทะไฟฟ้า
E= Engineering   (วิศวกรรมศาสตร์)  เด้กได้มีการออกแบบไข่พระอาทิตย์ของตัวเองว่าจะใส่อะไรบ้าง
M= Mathematics  (คณิตศาสตร์) มีการใช้เครื่องปรุงที่เป็นสัดส่วน ใช้ปริมาณให้พอดีกับไข่


สื่อนวัตกรรมการสอน
              โดยสื่อแต่ละชิ้นจะมีความแตกต่างกันออกไป เน้นให้เด็กได้คิดควบคู่ไปกับการเล่น เช่นสื่อชุดสนุกไปกับตัวเลข โดยเด็กสามารถตั้งโจทย์เองได้ แต่ต้องเป็นจำนวนที่ไม่เกินสิบ เด็กตั้งโจทย์ได้ คิดคำนวนเองได้ หรือครูจะตั้งโจทย์ให้เด็กหาคำตอบเองก็ได้








สื่อนวัตกรรมการสอน

              โดยสื่อแต่ละชิ้นจะมีความแตกต่างกันออกไป เน้นให้เด็กได้คิดควบคู่ไปกับการเล่น เช่นสื่อชุดสนุกไปกับตัวเลข โดยเด็กสามารถตั้งโจทย์เองได้ แต่ต้องเป็นจำนวนที่ไม่เกินสิบ เด็กตั้งโจทย์ได้ คิดคำนวนเองได้ หรือครูจะตั้งโจทย์ให้เด็กหาคำตอบเองก็ได้






แผนการจัดการเรียนรู้
                โดยการเขียนแผนที่พี่ปี5นำมาจัดนิทรรศการนี้เป็นเรื่องของบัว มีการนำบัวมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรม5ด้านของเด็กปฐมวัย โดยกิจกรรมกลางแจ้งนั้น เป็นการละเล่นของไทย เนื่องจากเป็นยโยบายของทางสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนมีการเขียนแผนที่แตกต่างกันไปจาก กทม. สพฐ. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่ในแผนก็ไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่นักมีส่วนที่เหมือน ส่วนที่ต่าง ถ้าดูจากรูปเล่มนั้นจะเห็นได้ว่า โรงเรียนเอกชนจะเล่มบางกว่าโรงเรียนสังกัด กทม.และ สพฐ. แต่อย่างไรแผนจัดการเรียนรู้นั้นจะต้องเน้นพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็กปฐมวัย











การประยุกต์ใช้ 

            เราสามารถนำความรูที่ได้จากพี่ๆปี5ไปใช้สอนเด็กๆในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น  Project Approach สื่อนวัตกรรมการสอน แผนการจัดการเรียนรู้


ประเมิน
     อาจารย์: อาจารย์ได้เปิดโอกาสที่ดีในการให้ไปดูนิทรรศการของพี่ๆเพื่อเป็นให้ได้ความรู่เพิ่มขึ้น
    ตนเอง: วันนี้รู้สึกชอบแผนการเรียนรู้มากที่สุด เนื่องจากว่าพี่ๆได้อธิบายชัดเจนและแนะนำแนวทางในการเขียนแผนเพิ่มเติม
 สิ่งแวดล้อม:  นิทรรศการของพี่ๆ มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ มีสีสันสวยงามน่าดึงดูดให้                                






วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6




บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่6
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                   อาจารย์ใช้ตารางสำรวจความชอบกินส้มตำของนักศึกษาชั้นปีที่2 สาขาการศึกษาปฐมวัย สรุปได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่2 สาขาการศึกษาปฐมวัย 8 คนชอบกินส้มตำไทย ชอบกินส้มตำปูปลาร้า 10 คน แสดงว่านักศึกษาชั้นปีที่2 สาขาการศึกษาปฐมวัยชอบกินส้มตำปูปลาร้า มากกว่าส้มตำไทย มากกว่าอยู่2คน ได้เรื่องของการเปรียบเทียบ การนับจำนวน
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
           มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ เช่น  ข้างบน ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก
           มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
          รูปเรขาคณิต3มิติและรูปเราขาคณิต2มิติ
-ทรงกลม กรวย ทรงกระบอก
-รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลงรูปเราขาคณิตสองมิติ
-งานสร้างสรรค์ศิลประ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
          มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด  หรือสี  ที่สัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่ง
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
         มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
 สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ


การประยุกต์ใช้
          นำเอาสาระมาตรฐานที่เราได้เรียนไปใช้ในการจัดแนวการสอนเด็กปฐมวัยได้ เด็กอายุเท่านี้ เราควรสอนอะไร สอนอย่างไร เด็กสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง 

ประเมิน
        อาจารย์: อาจารย์สอนได้สนุกดี ไม่เน้นเนื้อหาจนเครียดเกินไป
         ตนเอง: วันนี้รู้สึกสดชื่น อาจมีง่วงบ้างนิดหน่อย เลยทำให้เรียนได้เต็มที่
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
       




วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่5
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                        อาจารย์ให้นำป้ายชื่อของตัวเองไปติดบนกระดานโดยใช้เกณฑ์คนที่มาเรียน เป็นการเช็คได้ว่ามีคนมาเรียนกี่คนและขาดเรียนกี่คน เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้ดี
             ความรู้เชิงคณิตศาสตร์มี4ประเภท
                                   1.ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่ง        ต่างๆ  ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส  เช่น  สี  รูปร่างลักษณะ  ขนาด

                    2.ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge เป็นความรู้ที่ได้รับจาการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้  เช่น  หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน  หนึ่งเดือนมี  28  29  30  หรือ  31  วัน  หนึ่งปีมี  12  เดือน
                  3. ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์  (Logical-mathematic Knowledge เป็นความรู้ที่เกิดจากการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ  โดยความรู้นี้เกิดจากการสังเกต  สำรวจ  และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ  เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น  เช่น  การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่ง
                   4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์  (Symbolic Knowledge เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์  การเกิดความรู้นี้ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจน
     
 สาระและมาตราฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
                   สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
(มาตรฐาน ค.ป. 1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเปรียบเทียบจำนวณ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
              สาระที่2 การวัด
    (มาตรฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      -ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
     - การวัด

   
เพลงเด็กปฐมวัย

เพลงซ้าย-ขวา 
ยืนให้ตัวตรง        ก้มหัวลงตบมือแผละ
       แขนซ้ายอยู่ไหน   หันตัวไปทางนั้นแหละ



 การประยุกต์ใช้
           สามารถนำเทคนิคการนำป้ายชื่อไปติดบนกระดานเพื่อเช็คการมาเรียนของเด็กนักเรียนได้

           นำเอาความรู้เชิงคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

ประเมิน
        อาจารย์:   อาจารย์มีเทคนิคดีๆมาสอนมากมาย ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าเดิม 
        ตนเอง: วันนี้มีความรู้สึกง่วง เลยทำให้เรียนไม่เต็มที่
     สิ่งแวดล้อม:  บรรยากาศสนุกสนาน เเต็มไปด้วยเสียวหัวเราะ