พุยพุย

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่16



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่16
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                       วันนี้เป็นการทำปฏิทินให้เสร็จ เนื่องจากว่ามีบ้างจุดที่ต้องแก้เพื่อให้ปฏิทินเสร็จอย่าสมบูรณ์และมามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 
                       วันนี้นำเอาสื่อที่อาจารย์มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไปประดิษฐ์สื่อที่ใช้สอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มข้าพเจ้าได้ทำสื่อที่เรียกว่า Math Box เป็นชุดคณิตศาสตร์ที่สามารถเล่นเป็ชุดได้ในตัวกล่อง โดยในกล่องจะมีแท่งสีอยู่ 4 ชุด มีแผ่นตัวเลข1ชุด และเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร และเครื่องหมายเท่ากับอยู่อีก1 เซต
                      วิธีการเล่นก็คือ นำเอาแผ่นตัวเลขมาตั้งโจทย์ ครูอาจจะเป็นคนตั้งโจทย์ให้  โดยให้เด็กนำเอาแท่งสีมาแทนค่าตัวเลข และนำจำนวนจากนั้นก็แทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก 
 Math Box  สามารถเล่นได้ตั้งแต่ทั้งแบบกลุ่ม แบบคู่ หรือคนเดียวก็เล่นได้ ครูอาจนำมาใช้สอนเด็ก หรือพ่อแม่นำมาสอนลูกๆเรื่องของคณิตศาสตร์ก็ยังได้ ในเรื่องของคณิตศาสตร์เด็กจะได้เรื่องของการบวก การลบ การคูณ การหาร การนับจำนวนและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก








การนำไปประยุกต์ใช้
         สื่อที่เราทำขึ้น ปฎิทิน เราสามารถนำไปใช้สอนเด็กเรื่อง วันที่ สี ตัวเลข
          Math Box   ครูอาจนำมาใช้สอนเด็ก หรือพ่อแม่นำมาสอนลูกๆเรื่องของคณิตศาสตร์ก็ยังได้ ในเรื่องของคณิตศาสตร์เด็กจะได้เรื่องของการบวก การลบ การคูณ การหาร การนับจำนวนและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

ประเมิน
                             อาจารย์ : อาจารย์ได้มีการแนะนำสื่อของแต่ละกลุ่มว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง และสามารถต่อยอดได้อีกอย่างไรบ้าง  
                            ตนเอง : มีการเตรียมพร้อมในสื่อที่กลุ่มตนเองทำขึ้นมาเพื่อนำมาเสนอเพื่อนๆและอาจารย์ได้ดูกัน
                         สิ่งแวดล้อม : วันนี้หลายกลุ่มทำสื่อได้แปลกใหม่ และบางกลุ่มอาจจะต้องปรับปรุงนิดหน่อย ในภาพรวมแล้วแต่ละกลุ่มทำออกมาได้ดีมากๆ






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่15
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 26 เมษายน 2560 



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                  สืบเนื่องจากแผนผังความคิดเรื่องหน่วยกระเป๋าได้ทำไว้  การเรียนการสอนในครั้งนี้เป็นการสอนหน่วยที่แต่ละกลุ่มได้วางแผนไว้และได้เขียนแผนการสอนไว้ โดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาทำการสอนในหน่วยที่ได้คิดและวางแผนกันเอาไว้ แต่ละกลุ่มจะต้องส่งตัวแทนมาสอนในแผนการสอนที่เขียนไว้กลุ่มละ1วัน  กลุ่มข้าพเจ้าสอนเรื่องกระเป๋า ได้สอนวันจันทร์ ซึ่งเป็นเรื่องของชนิดกระเป๋า 
กลุ่ม1  เรื่อง กระเป๋า สอนตามแผนของวันจันทร์
กลุ่ม2 เรื่อง บ้าน สอนตามแผนของวันอังคาร
กลุ่ม3 เรื่อง กระต่าย สอนตามแผนของวันพุธ
กลุ่ม4 เรื่อง เสื้อ  สอนตามแผนของวันพฤหัสบดี
กลุ่มถ เรื่อง ยานพหนะ สอนตามแผนของวันศุกร์
               อาจารย์มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไปประดิษฐ์สื่อที่ใช้สอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มละ1ชิ้น






              

การนำไปประยุกต์ใช้
            การสอนครั้งนี้ทำให้เราเห็นถึงสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น และการที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในแต่ละขั้นตอนเราสามารถนำเอาไปปรับใช้ในอนาคตในการสอนได้

ประเมิน
                             อาจารย์ : อาจารย์ได้มีการแนะนำในแต่ละขั้นตอนและกิจกรรมที่ใช้ในการสอน บางกิจกรรมสามารถต่อยอดได้ทำให้เด็กได้เรื่องของคณิตศาสตร์เพิ่มมากกว่าเดิม          
                            ตนเอง : วันนี้ตนเองได้มีการเตรียมอุปกรณ์ ทั้งสื่อในการสอน ชาร์ตคำคล้องจอง และช่วยอำนวยความสะดวกให้เพื่อนที่เป็นตัวแทนสอน
                         สิ่งแวดล้อม : วันนี้หลายกลุ่มค่อยข้างพร้อมมาก มากการนำสื่อที่จะใช้สอนมา มีการซ้อมและวางแผนการสอนในแต่ละครั้งเป็นอย่างดี เห็นความพร้อมเพียง ความร่วมมือของแต่ละกลุ่ม ทุกกลุ่มที่สอนทำได้ดีมากๆในระดับนึง





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14


บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่14
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 19 เมษายน 2560 



เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
             อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์สื่อว่าแต่ละชิ้น แต่ละชนิดเป็นอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง และสามารถนำไปต่อยอดอย่่างไรได้บ้าง และมีการนำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยมีคำถามดังนี้
1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า
              จากนั้นอาจารย์ได้มีการพิจารณาจากคำตอบที่เพื่อนๆได้ตอบกันมา   อาจารย์ได้แนะแนวทางสำหรับการจัดดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งบางกิจกรรมอาจาต้องปรับปรุง บางกิจกรรมอาจส่งเสริมต่อยอดมากยิ่งขึ้น





การประยุกต์ใช้
               เราสามารถนำเอาคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า

ประเมิน
     อาจารย์: อาจารย์ได้แนะนำแนวการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าแต่ละกิจกรรมปรับตรงไหนบ้าง
    ตนเอง:  ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำแนวการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    สิ่งแวดล้อม:เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังแนวทางที่อาจารย์แนะนำแนวการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13


บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่13
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 5 เมษายน  2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
               งอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์สื่อคณิตศาสตร์  ว่าแต่ละชิ้น แต่ละชนิดเป็นอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง และสามารถนำไปต่อยอดอย่่างไรได้บ้าง
ตัวอย่างเช่น
              ◼เกมจับคู่ เช่น จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน จับคู่ภาพกับเงา จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก จับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
              ◼เกมภาพตัดต่อ (Jig-saw puzzle) เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้คณิตศาสตร์
              ◼เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์


ตัวอย่างเกมการศึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์









การนำไปประยุกต์ใช้
                    เกมการศึกษาแค่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป หากเราต้องนำเกมการศึกษามาให้เด็กเล่นต้องคำนึกถึง ความยากง่ายที่จะเหมาะกับพัฒนาการเด็กด้วย และความถูกต้องของเกมชนิดนั้นๆ เพระาหากเกมมีความผิดพลาดจะทำให้เด็กได้รับความรู้ผิดไป


ประเมิน
                      อาจารย์: อาจารย์ได้วะเคราะห์เกมการศึกษาแต่ละชิ้นให้นักศึกษาดู และมีการอธิบายว่าเราสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างไรบ้าง และสอนในเรื่องคณิตศาสตร์อย่างไรได้บ้าง
                      ตนเอง: สำหรับตนเองวันนี้รู้สึกว่า เกมการศึกษาบางชนิดสอนคณิตศาสตร์เด็กได้หลายเรื่องในชิ้นเดียว และบางชิ้นมีความแปลกใหม่
                        สิ่งแวดล้อม: เพือนหลายคนต่างสนใจในเกมการศึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเนื่องจากหลายชิ้นมีความแปลกใหม่ ไม่เคยเห็นมมาก่อน




วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12



บันทึกการเรียนรู้
ครั้งที่12
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
              หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี  เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของเด็ก  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี    มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่าง
สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วน   ดังนี้
             1. ประสบการณ์สำคัญ
            ประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาช่วยให้เด็กเกิด ทักษะ ที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้  โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ บุคคลต่างๆ ที่อยู่รอบตัวรวม
             2. สาระที่ควรเรียนรู้
         สาระที่ควรเรียนรู้  เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ให้เด็กเกิดการเรียนรู้  ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา  ครูสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ และความสนใจของเด็ก
                ➤เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  เด็กควรรู้จักชื่อ  นามสกุล  รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะต่าง
                ➤ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ
               ➤ ธรรมชาติรอบตัว  เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน  ฯลฯ
               ➤ สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก  เด็กควรจะได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ
          โดยสาระการเรียนรู้สามารถจัดประสบการณ์โดยให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลัก
- เคลื่อนไหวและจังหวะ
- ศิลปะ  สร้างสรรค์  แสดงความรู้สึก
- เสรี     เล่นบทบาทสมมติ
- เสริมประสบการณ์  สติปัญญา
- กลางแจ้ง   ร่างกาย
- เกมการศึกษา  สติปัญญา


การประยุกต์ใช้
          เราสามารถนำเอาสาระการเรียนรู้มาจัดประสบการณ์โดยให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลักได้
ประเมิน
        อาจารย์: อาจารย์สอนได้ละเอียด เปิดดอกาสให้นักศึกษาที่มีข้อสงสัยได้ซักถาม
         ตนเอง: วันนี้รู้สึกสดชื่น  เลยทำให้เรียนได้เต็มที่
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี และซักถามบ้างเป็นบางคน
       










สรุปวิจัย



ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมนตรีเซอรี่
ปริญญานิพนธ์ของกมลรัตน์  กมลสุทธิ
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2555

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยมีจุดประสงค์ดังนี้
1.เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมมาไวที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กประถมมาไวอายุระหว่างสี่ถึงห้าปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล2ภาคเรียนที่1
ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารีกรุงเทพมหานคร จำนวน12คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการวิจัย
                    การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมลูในภาคเรียนที่ 1 ปีการศกึษา 2554 เป็น เวลา 5 สัปดาห์   สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง
 โดยมีแผนการดำเนินการ ดังนี้
        1. นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาทดสอบก่อน (Pretest) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวการมอนเตสซอรี่กับเด็กปฐมวัยรายบุคคลจำนวน 12 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวจัยจำนวน 15 ข้อ ข้อละ 3-4 นาทีโดยประมาณคนละ 45-50 นาที
         2. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยดำเนินการจัดประสบการณ์คณิตศาสตรต์ามแนวมอนเตสซอรี่ให้กับเด็กปฐมวัยรายบุคคลที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน จำนวน 15 กิจกรรม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง     ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. - 11.00 น.  วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 
         3. เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองแล้วผู้วิจัยดำเนินการประเมินผลหลังการทดลอง (Posttest) ด้วย 
แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ดำเนินการก่อน
 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นรายบุคคล  จำนวน 15 ข้อ
         4. ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 ก่อน และหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบของ The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test  

สรปุผลการวิจัย
1. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนว
มอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
 2. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนว
มอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบ ด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ   















วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ตัวอย่างการสอน




                                                                    รายการครูมืออาชีพ
                                                         ชุดรายการ - คณิตในชีวิตประจำวัน 
                                                 ตอน Making Maths Real : สอนคณิตให้มีชีวิตชีวา ตอน 1 


                     กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สอนอย่างไรให้สนุกและมีชีวิตชีวา เริ่มที่ประเทศอังกฤษ ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์แก่เด็ก ๆ จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการสอนคณิตศาสตร์ของพวกเขา ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ชั้นปฐมวัยและประถมศึกษา  โรงเรียนประถมศึกษา ที่วินเชสเตอร์   โรงเรียนของที่นี่จะใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นว่าเด็กชอบเรียนรู้อะไรแล้วนำมาวางแผนเพื่อที่จะสอนในขั้นตอนต่อไป จะมีการนำสิ่งที่เด็กชอบมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์  ก่อนที่จะเริ่มบทเรียนคุณครูมีการพาเด็กอบอุ่นร่างกายและร้องเพลงเป็นการทำให้เด็กตื่นตัว เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่บทเรียน การเรียนการสอนของที่นี่คืออาศัยการทำกิริยาท่าทางของเด็กประกอบไปกับตัวเลข ที่นี่จะแสดงท่าทางแทนตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง โดยคุณครูจะคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์ขึ้นมาโดย  การใช้ร่างกายแทนสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นการบวก การลบ หรือเครื่องหมายเท่ากับ โดยใช้ร่างกายเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งเหล่านั้น  ในการเรียนคณิตศาสตร์นั้นจะช่วยให้เด็กตื่นตัวมากขึ้นเมื่อเขาได้ใช้ร่างกายของพวกเขาเองทำเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ  ทำให้พวกเขานั้นไม่ได้จำจากการเรียน เขียน อ่าน  แต่จะจำจากการใช้สัญลักษณ์ต่างๆที่พวกเขาเคยได้ทำ เด็กๆจะจำได้ว่าอย่างไหนใช้แทนตัวเลข  อย่างไหนใช้แทนเครื่องหมายต่างๆ


 ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=cz_BgmCg2Ss